Menu Close

พ.ศ.2478: เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล”

พ.ศ.2478: เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล"

พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. ตั้งแต่ครั้งเป็นเสนาธิการกองทัพเรือ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือในการออกทุนได้สนับสนุนโรงเรียนอาชีพช่างกลด้วยผู้หนึ่ง ต่อมาจนกระทั่งเป็นแม่ทัพและในปีเดียวกัน ท่านได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการท่านได้นำเรื่องของโรงเรียนอาชีพช่างกลเข้าปรึกษาจอมพลป.พิบูลสงครามขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยความเมตตากรุณาท่านผู้ใหญ่ทั้งสองท่าน และด้วยสายตาที่มองไกลท่านได้เห็นความสำคัญในเรื่องวิชาชีพการช่างกล ว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรจะต้องอุ้มชู เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในอนาคต และให้ประชากรของชาติได้รับการศึกษาเล่าเรียนวิชาช่างกลไว้ เพื่อได้เป็นวิชาอาชีพที่จะได้นำไปประกอบการงานให้เป็นประโยชน์ต่อราชการ หรือส่วนตัวและครอบครัว ให้ได้มีอาชีพการงานที่เป็นปึกแผ่นและอยู่ดีกินดี จึงได้รับโรงเรียนอาชีพช่างกลจากนาวาเอก พระประกอบกลกิจ ร.น. มาสังกัดอยู่ในกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 พร้อมอนุมัติเงินงบประมาณให้โรงเรียนได้ก่อตั้งรากฐานอันมั่นคงมีโรงงาน และเครื่องจักรกลต่างๆ

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 กระทรวงธรรมการได้ขอรับโอนโรงเรียนอาชีพช่างกลเข้ามาอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ให้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล”เพื่อริเริ่มการสอนตามแผนการศึกษาของชาติ ซึ่งกรมอาชีวศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาด้านวิชาชีพโดยตรง

ระเบียบในการรับสมัครนักเรียน ต้องสำเร็จวิชาสามัญชั้นมัธยมปีที่ 4 เป็นอย่างต่ำและอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ไม่เกิน 18 ปี วางหลักสูตรการเรียนไว้ 2 ปี ไม่เก็บค่าเล่าเรียน ส่วนนาวาอากาศเอก พระประกอบกลกิจ ร.น. ยังคงรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนต่อมา และเรือเอกหลวงสุรภัฏพิศิษฐ์ ร.น. ย้ายไปรับราชการกรมเจ้าท่า เรือโทสมบุญ กายสุต ร.น. ทำหน้าที่รักษาการแทนอาจารย์ใหญ่

พ.ศ.2478: เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล"