สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จับมือ กรมราชทัณฑ์ มอบโอกาสการศึกษาเสริมความรู้และพัฒนาทักษะอาชีพแก่ผู้ต้องขัง ก่อนคืนคนดีสู่สังคม
วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุมสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ชั้น 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีนัส ทัดเนียม รองอธิการบดี อาจารย์จิตรภรณ์ นางทิน รองอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิราภรณ์ เพิ่มพูนสินทรัพย์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ นางทิน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ให้การต้อนรับ นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายชาญ วชิรเดช รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และคณะ ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กับ กรมราชทัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ระดับประกาศนียบัตรแก่ผู้ต้องขัง โดยเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและพัฒนาทักษะอาชีพและทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต (Upskill/Reskill/Newskill) ของผู้ต้องขัง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีระบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) ของผู้ต้องขังที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรเข้าไว้ในธนาคารหน่วยกิตของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
การลงนามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะเริ่มดำเนินการจัดการอบรมให้ความรู้ ภาษาต่างประเทศสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ จะมีการจัดอบรมบุคลิกภาพให้แก่ผู้ต้องขังทัณฑสถานหญิงกลาง จำนวน 40 คน จากนั้นในปี พ.ศ. 2569 มีการวางแผนดำเนินโครงการอบรมและการฝึกวิชาชีพจำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการจัดต้นไม้ขนาดเล็กเพื่อธุรกิจออนไลน์ หลักสูตรการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน หลักสูตรการพัฒนาอาชีพเฝ้าระวังและป้องกันภัยทางไซเบอร์ หลักสูตรเทคโนโลยีการสกัดน้ำมันหอมระเหยสำหรับผลิตภัณฑ์อโรมา หลักสูตรนักเล่าเรื่องท้องถิ่นมืออาชีพ หลักสูตรพนักงานบริหารงานโลจิสติกส์ หลักสูตรภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น และหลักสูตรภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยผู้ต้องขังจะได้รับการอบรม พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตร และจะมีการขยายการดำเนินงานไปยังเรือนจำอื่น ๆ ต่อไป ถือเป็นการมอบโอกาสทางการศึกษา โอกาสทางสังคม ซึ่งในอนาคตเมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษแล้วนั้น จะช่วยให้กลับสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ อีกทั้ง ยังเป็นการลดโอกาสการทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังอีกด้วย
ข้อมูล/ภาพ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / ฝ่ายสื่อสารองค์กร กองกลาง สำนักงานอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม |
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จับมือกรมราชทัณฑ์ มอบโอกาสการศึกษาเสริมความรู้และพัฒนาทักษะอาชีพแก่ผู้ต้องขัง ก่อนคืนคนดีสู่สังคม |
สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม |
ผู้ต้องขังทัณฑสถานหญิงกลาง จำนวน 40 คน |
ผลจากการมีส่วนร่วม |
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ระดับประกาศนียบัตรแก่ผู้ต้องขัง โดยเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและพัฒนาทักษะอาชีพและทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต (Upskill/Reskill/Newskill) ของผู้ต้องขัง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีระบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) ของผู้ต้องขังที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรเข้าไว้ในธนาคารหน่วยกิตของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน |
การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน |
จัดการอบรมให้ความรู้ ภาษาต่างประเทศสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ จะมีการจัดอบรมบุคลิกภาพให้แก่ผู้ต้องขังทัณฑสถานหญิงกลาง จำนวน 40 คน จากนั้นในปี พ.ศ. 2569 มีการวางแผนดำเนินโครงการอบรมและการฝึกวิชาชีพจำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการจัดต้นไม้ขนาดเล็กเพื่อธุรกิจออนไลน์ หลักสูตรการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน หลักสูตรการพัฒนาอาชีพเฝ้าระวังและป้องกันภัยทางไซเบอร์ หลักสูตรเทคโนโลยีการสกัดน้ำมันหอมระเหยสำหรับผลิตภัณฑ์อโรมา หลักสูตรนักเล่าเรื่องท้องถิ่นมืออาชีพ หลักสูตรพนักงานบริหารงานโลจิสติกส์ หลักสูตรภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น และหลักสูตรภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยผู้ต้องขังจะได้รับการอบรม พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตร และจะมีการขยายการดำเนินงานไปยังเรือนจำอื่น ๆ ต่อไป ถือเป็นการมอบโอกาสทางการศึกษา โอกาสทางสังคม ซึ่งในอนาคตเมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษแล้วนั้น จะช่วยให้กลับสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ อีกทั้ง ยังเป็นการลดโอกาสการทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังอีกด้วย |